ทำ Shopee Ads, Lazada Ads จะเริ่มอย่างไรดี มีเทคนิคอะไรบ้าง ต้องบอกก่อนเลยว่าใครที่ขายสินค้าออนไลน์ มักจะมีการวางขายสินค้าใน E-Commerce Platform ชื่อดังในไทยอย่าง ช้อปปี้ และ ลาซาด้า กันอยู่แล้ว
แต่การที่จะใช้งาน Shopee Ads หรือ Lazada Ads ก็ตาม หลายคนที่เป็น SMEs ต่างยังไม่กล้าลองใช้งาน หรือถนัดใช้งานโฆษณา Social Media มากกว่า ต้องทำความเข้าในก่อนว่า Shopee Ads และ Lazada Ads ต่างยังใหม่มาก ในการทำโฆษณา แต่ข้อดีที่เหนือกว่ามากนั่นคือทั้ง ทำ Shopee Ads และ Lazada Ads นั้น ต่างมุ่งเน้นให้เกิดการ Convert หรือเกิดการซื้อ Purchase สินค้านั่นเอง ทำให้เป็นที่น่าสนใจค่อนข้างมาก เพราะทุกคนที่เข้า Shopee หรือ Lazada ต่างก็พร้อมที่จะซื้อสินค้า เพราะฉะนั้นโฆษณาที่อยู่ใน Shopee และ Lazada ต่างตอบโจทย์เกิดการซื้อนั่นเอง ทำให้คนที่ขายสินค้าอยู่แล้วต่างมาใช้งบกับการ ทำ Shopee Ads และ Lazada Ads เพิ่มมากขึ้น
สำหรับใครที่ต้องการเริ่ม ทำ Shopee Ads หรือ Lazada Ads แล้วต้องการศึกษาหาความรู้ ว่าจะเริ่ม ทำ Shopee Ads และ Lazada Ads อย่างไรดี เหมาะมากกับคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs และคนที่ต้องการทำโฆษณาในเริ่มต้น
ทำ Shopee Ads, Lazada Ads แบบมือใหม่ รวมทริกและเทคนิค ที่ควรรู้
- วางแผนเรื่องงบประมาณให้ดีก่อน ทำ Shopee Ads, Lazada Ads
- คัดเลือก SKU สินค้าที่ขายดีก่อน เลือกจากราคาที่สูง หรือสินค้าที่ได้กำไรมาก เพื่อ ทำ Shopee Ads Lazada Ads
- ถ้ามีงบประมาณจำกัด แนะนำให้ทำ Search Ads ก่อน Discovery Ads
- พยายามเพิ่มงบประมาณในวันที่มีโปรใหญ่เช่น Double Day, Mid Month หรือ Pay Day
- วัดผลจาก GMV และ ROI (ROAS) สินค้าไหนดีได้ไปต่อ ไม่ดีก็ควรหยุดหรือเพิ่มประสิทธิภาพ
- สรุป ทำ Shopee Ads, Lazada Ads อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วางแผนเรื่องงบประมาณให้ดีก่อน ทำ Shopee Ads, Lazada Ads
การทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น ทำ Shopee Ads หรือ Lazada Ads ก็ตาม ต้องวางแผนให้รัดกุมก่อนว่าเราจะมีแผนอย่างไร ต้องการใช้งบประมาณเท่าไรต่อเดือน และมีความคาดหวังว่าจะได้กลับมาเท่าไรต่อเดือน (แนะนำว่าให้วางตามความเป็นจริง อย่าคาดหวังสูงหรือเกินความเป้นจริงมากเกินไป)
เมื่อวางแผนขั้นแรกแล้วก็อย่าลืมว่าสินค้าที่เราจะขายมีวางขายบน Shopee Ads หรือ Lazada Ads มากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน แบรนด์คู่แข่ง จากนั้นให้ดูรายละเอียดการเขียน Title และ Description สินค้าว่าของเราเป็นอย่างไร มีรายละเอียดมากแค่ไหน ลองค้นหาดูว่าอันไหนที่ทำโฆษณาติดอันดับแรก ๆ เขียนกันดีแค่ไหน เราสามารถนำมาปรับปรุงกับสินค้าที่เราขายได้ เนื่องจากกว่าการ ทำ Shopee Ads และ Lazada Ads ส่วนที่เป็น หัวข้อ (Title) และรายละเอียดสินค้า (Description) มีความสำคัญมาก ๆ เพราะราคาต่อคลิกจะน้อยหรือมาก ไม่ว่าจะเป็น Search Ads หรือ Discovery Ads มีผลมาก ๆ เพราะฉะนั้นทำออกมาให้ดีจะช่วยลดราคาต่อคลิก CPC อีกด้วย
คัดเลือก SKU สินค้าที่ขายดีก่อน เลือกจากราคาที่สูง หรือสินค้าที่ได้กำไรมาก เพื่อ ทำ Shopee Ads Lazada Ads

การคัดเลือก SKU แนะนำเลยว่าควรจะเป็นสินค้าที่ขายดีก่อน โดยเฉพาะถ้าอย่างยิ่งสินค้าเรามีหลากหลาย หรือมีเยอะมาก ๆ คนไม่รู้จะเลือกอะไรก่อน แนะนำเลยว่าเลือกสินค้าที่เป็น Hero Product ของเรา สินค้าที่ขายดี เพราะโฆษณาจะช่วยให้ขายดีมากยิ่งขึ้น
หรือจะเลือกจากสินค้าที่มีราคาสูง หรือสินค้าที่ได้กำไรมาก จริง ๆ ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกัน แต่สินค้าที่มีราคาสูงก็จะช่วยให้เรื่องของตัวเลขส่วนที่เราคำนวณได้ง่าย อย่าง ROI (ROAS) หรือ GMV (Gross Merchandise Value) ออกมาแล้วสูงดูคุ้มค่าในการทำการตลาด แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ได้กำไรมาก จะดูดีในส่วนของหลังบ้าน ได้กำไรมากขึ้นถึงแม้จะทำโฆษณาด้วย ยิ่งทำก็ยิ่งขายได้มากขึ้น กำไรก็ยังคงอยู่
อย่างที่เราเคยกล่าวไปว่า การเพิ่มสินค้าแบบจัดเซ็ต หรือจัดแพ็ก ให้ยูนิตสินค้าใหญ่ขึ้น ขายยกแพ็กยกลัง เพราะว่าการจัดเซ็ตหรือจัดแพ็กจะช่วยให้ Basket Size ใหญ่ขึ้น มูลค่าของสินค้ามีมากขึ้น และแน่นอนว่ากำไรก็สูงขึ้นอีก เพื่อให้คุ้มค่ากับการทำโฆษณานั่นเอง
ถ้ามีงบประมาณจำกัด แนะนำให้ทำ Search Ads ก่อน Discovery Ads
ต้องอธิบายก่อนว่า รูปแบบการทำงานของ Search Ads คือการที่เราค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด แล้วสินค้าที่เราทำการโฆษณาไว้ด้วยคีย์เวิร์ดนั้น สินค้าจะโผล่มาเป็นลำดับแรก ๆ ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวข้องของสินค้าและคีย์เวิร์ด รวมไปถึงราคา Bidding ซึ่งการทำ Search Ads นั้นมากจะมี Impression ต่ำกว่า Discovery Ads แต่ตอบโจทย์การค้นหามาก อัตราการคลิกสูง และยังช่วยทำให้เกิดการซื้อสินค้า และมักจะมี ROI ที่สูงกว่า Discovery Ads แต่ก็มีข้อเสียคือไม่เหมาะกับการทำ Awareness รวมไปถึงถึงแม้เราจะมีเงินมากขนาดไหน แต่ Search Volume ของคนก็ยังมีไม่เยอะมาก ทำให้ใช้เงินไม่หมดได้ (ในกรณีที่อัดเงินลงไปเยอะ ๆ ต่อวัน)
ส่วนการทำงานแบบ Discovery Ads นั้น จะเป็นการแสดงโฆษณาที่มีการมองเห็นเยอะ ในตำแหน่งแนะนำสินค้าหน้า Home Page หน้าสินค้าที่คล้ายกัน ซึ่งโฆษณารูปแบบนี้สามารถเพิ่ม Targeting ได้ด้วย เช่นเลือกเพศ อายุ แล้วก็ Location (ในการ ทำ Shopee Ads) แต่ถ้าเป็น Lazada Ads ส่วนที่เป็น Discovery ก็จะสามารถปรับ Bidding เพิ่มราคาประมูลสูงสุดของคนที่เข้ามาชมสินค้าใน 15 วันที่ผ่านมา และเพิ่มราคาประมูลคนที่สนใจสินค้าที่คล้ายกันได้อีก ซึ่ง Discovery Ads นั้นจึงเหมาะสมมากที่จะช่วยเข้าถึงคนได้มากขึ้น และยังช่วยทำให้เกิด Purchase ได้อีก แต่ทว่าก็ต้องเข้าใจส่วนหนึ่ง เรื่องของ ROI (ROAS) มักจะน้อยกว่า Search Ads เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ที่ให้เลือก Search Ads ก่อนเพราะว่ามือใหม่มักจะมีการทดลองก่อน มีงบที่จำกัด และส่วนมากต้องการ Purchase ก่อนอยู่แล้ว ซึ่ง Search Ads ตอบโจทย์ตรงนี้มากกว่า ไม่ว่าเราจะเลือก Auto Bidding เลือกคีย์เวิร์ดอัตโนมัติ ก็ใช้งานได้ หรือถ้าต้องการเพิ่มคีย์เวิร์ดเอง Bidding ราคาเอง ก็ทำได้ไม่ยาก และสามารถทำ GMV ยอดขายได้ค่อนข้างเป็นที่น่าพึงพอใจมาก ๆ (ตามประสบการณ์ของตัวเอง) ROI (ROAS) ที่ทำได้ก็สูงด้วย ทำให้ทำโฆษณา Search Ads แล้วออกมาคุ้มค่ามาก ๆ เลยแนะนำที่ Search Ads ก่อน
พยายามเพิ่มงบประมาณในวันที่มีโปรใหญ่เช่น Double Day, Mid Month หรือ Pay Day

วันที่มีโปรโมชั่นใหญ่สุดของ Shopee และ Lazada ก็มักจะเป็น Double Day หรือวันที่มีเลขเบิ้ล 9.9 10.10 11.11 ส่วน Mid Month จะเป็นช่วงกลางเดือน และ Pay Day จะเป็นช่วงปลายเดือน การททำโฆษณาแนะนำว่าให้เป็นเป็น Always on เอาไว้ทุกวันเพื่อให้ระบบได้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งการทำ Shopee Ads Lazada Ads และควรที่จะเพิ่มงบประมาณต่อวันหรือที่เรียกกันว่า Daily Budget ให้สูงขึ้น ขึ้นอยู่กับเราเลยว่าจะเพิ่มที่เท่าไร 2-3 เท่าก็ยังได้
ที่แนะนำให้เพิ่มในช่วงที่มีโปรโมชั่น เป็นเพราะว่าทุกคนรอที่จะเข้ามาช้อปในช่วงวันเวลานั้นอยู่แล้ว ทำให้ใน Shopee, Lazada มีคนเข้ามาจำนวนมาก ไม่ว่าจะค้นหาสินค้า ดูสินค้าที่คล้ายกัน หรือรอ Add to Cart พร้อมซื้อ เพื่อไม่ให้โอกาสหลุดลอยไป สินค้าของเราควรจะปรากฏให้เห็นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เชื่อหรือไม่ว่าในช่วง Double Day, Mid Month หรือ Pay Day นั้นสามารถเพิ่ม ROI (ROAS) ได้สูงตั้งแต่ 10-20 เลยทีเดียว รวมไปถึง GMV ที่ได้สูงมากด้วยเช่นกัน สูงกว่าวันธรรมดาค่อนข้างมาก
วัดผลจาก GMV และ ROI (ROAS) สินค้าไหนดีได้ไปต่อ ไม่ดีก็ควรหยุดหรือเพิ่มประสิทธิภาพ
วิธีการวัดผลโดยพื้นฐานทั่วไปอาจจะเริ่มที่ Click หรือ CTR ก่อน แต่ถ้าจะให้ดีควรจะวัดผลจาก GMV (Gross Merchandise Value) ว่าขายได้กี่บาท และสัดส่วนของ ROI (ROAS) ว่าคุ้มกับทุนที่เราลงไปหรือไม่ อาจจะลองดูว่าอันนี้คนคลิกเยอะ แต่ทำไมถึงไม่ซื้อ ก็ต้องดีว่าคีย์เวิร์ดที่เราใช้สัมพันธ์กับสินค้าเราหรือไม่ ต้องปรับปรุง Title หรือ Description แค่ไหน หรือสินค้าที่เราจัดแพ็กจัดเซ็ตไป ใหญ่เกิดความจำเป็นมากไหม เพราะบางคนอาจแค่อาจซื้อแพ็ค 5ชิ้นมากกว่าแพ็ค 10 ชิ้นก็เป็นได้ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมคนคลิกแล้วถึงไม่ซื้อสินค้า
ส่วนอันไหนที่ GMV ได้น้อย แต่ถ้า ROI ดี ก็อาจเก็บไว้ได้ นั่นหมายความว่าเราใช้เงินโฆษณาไม่สูงเมื่อเทียบกับราคาที่ขายได้ แต่ว่าสินค้านั้นมีราคาต่ำ อันนี้ก็จะให้ย้อนกลับไปจัดแพ็ก จัดเซ็ตได้ตามความเหมาะสม เพื่อขยาย Basket Size ทำให้ GMV และ ROI สูงขึ้นไปอีก
กลับกันถ้า ROI ต่ำ แต่ GMV สูง นั่นหมายความว่าราคาสินค้าของเราสูงอยู่แล้วทำได้ดี แต่ว่าราคา Bidding สูงไปไหม เหมาะสมหรือไม่ ต้องคอยมอนิเตอร์ว่าคีย์เวิร์ดที่เราเลือกใช้ Bidding ราคาสูงกว่าตลาดมากไปหรือเปล่า (บางทีเจอ Suggest คีย์เวิร์ดละเป็น 100 บาท ก็มี ไม่จำเป็นต้องทำตามระบบทั้งหมดก็ได้) ให้ปรับ Bidding ลง
สุดท้ายถ้า GMV และ ROI ต่ำ เราอาจควรพิจารณาปิดหรือหยุดโฆษณาสินค้านี้ และนำงบย้ายไปที่สินค้าอื่นที่ขายดีกว่าแทน เพราะอย่างที่เคยกล่าวไปว่าหัวใจสำคัญของการทำ Digital Marketing คือการโยกย้าย Budget ไปยังเครื่องมือผลลัพธ์ที่ดีกว่า หรือจะลองใช้เครื่องมืออื่น ๆ เพิ่มเติมก็ได้
สรุป ทำ Shopee Ads, Lazada Ads อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นแนวทางการปฏิบัติซึ่งใครที่ขายสินค้าบน Shopee Ads หรือ Lazada Ads นำไปใช้ได้ ใครนำไปใช้แล้วเกิดผลอย่างไร ดีขึ้นหรือไม่มาบอกให้กับเราฟังกันได้เช่นกัน
ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับ Digital Marketing หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ สามารถ Inbox สอบถามได้ที่ Facebook ของ Digital Break Time คำถามเด็ด ๆ ที่คิดว่ามีประโยชน์จะนำมาเขียนบอกเล่าให้กับคนอื่น ๆ ได้รู้ด้วย
ติดตามเรื่องราว Digital Marketing จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, Twitter, Line Official Account, Instagram, Spotify, YouTube, Apple Podcast
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time