วัด Conversion แบบไหนดี เอาเข้าจริงแล้วการวัด Conversion นั้นมีหลายรูปแบบมาก แต่เท่าที่ผู้เขียนได้สัมผัสมามากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นการวัด Conversion ในรูปแบบ Destination แต่เนื่องจากไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสตั้งค่า Conversion ในรูปแบบของการวัดแบบ Button Click นั่นจึงเป็นที่มาของบทความนี้นั่นเองว่า Conversion ทั้งสองอย่างนี้จะวัดแบบไหนดี แต่ละข้อมีข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร
วัด Conversion แบบ Destination
แน่นอนว่าสำหรับคนที่ทำงานด้าน Digital Marketing การตั้งค่า Conversion ในรูปแบบนี้ อาจเป็นรูปแบบที่คุ้นเคยมากที่สุด การวัด Conversion แบบ Destination คือการวัดด้วยหน้า Url ที่ผู้ใช้งานไปถึง ทำให้เป็นหน้าที่บ่งบอกได้ว่าผู้ใช้งานมาถึงหน้านั้นแล้ว จึงนับเป็น 1 Conversion
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อของจากเว็บไซต์ E-Commerce เจ้าหนึ่ง เมื่อเราหยิบของใส่ตะกร้าแล้ว กด Next ต่อไปเรื่อย ๆ จะพบกับหน้ชำระเงิน เมื่อชำระเงินสำเร็จ ก็จะ Reload หน้าเป็นหน้า Summary ที่สินค้าทั้งหมดที่เราจะต้องได้รับ ซึ่งหน้านั้นมักจะนับค่า Conversion คนที่ชำระเงินสำเร็จแล้วนั่นเอง (เอาเข้าจริงก็สามารถนับหน้า Add to Cart ก็ทำได้)
หรือสำหรับแบบฟอร์มสำหรับการลงทะเบียนต่าง ๆ เช่นเมื่อเราสนใจลงทะเบียนรับข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านหรือคอนโดที่เราต้องการ เราก็กรอกแบบฟอร์มในหน้าเว็บไซต์ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว มักจะมีหน้าขอบคุณที่ลงทะเบียน (เรามักจะเรียกหน้านี้ว่าหน้า Thank you) ที่หน้านี้นี่เองมักจะมีการวัด Conversion เลยว่ามีคนละทะเบียนจำนวนกี่ครั้ง
ข้อดีของการวัด Conversion แบบ Destination
- มีความแม่นยำสูง
การวัด Conversion ในรูปแบบ Destination มีความแม่นยำสูงมาก เนื่องจากผู้ใช้งานจำเป็นต้องผ่านหน้าเหล่านี้แบบมีเงื่อนไข เช่นต้องกรอกข้อมูลให้ครบ ต้องจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตแล้ว ต้องสมัครสมาชิกก่อน ฯลฯ ทำให้มีโอกาสคลาดเคลื่อนต่ำมาก เชื่อถือได้
- ตั้งค่า Conversion ง่ายมาก
ง่ายมากจริง ๆ สำหรับการตั้งค่า Conversion สำหรับการทำบน Facebook หรือ Google Analytics เองก็ตาม เพียงแค่ใส่เป็นหน้า Url ที่เราต้องการให้วัดเป็น Conversion ส่วน Google Ads อาจยุ่งยากกว่าเล็กน้อย แต่ก็ไม่มาก วิธีที่ง่ายที่สุดเพียงแค่เชื่อมตาอระหว่าง Google Ads และ Google Analytics เข้าด้วยกัน แล้วดึง Goal จาก Google Analytics มายัง Google Ads ได้ทันที
- ในระดับลึกแล้วสามารถตั้งค่าเพื่อดู Funnel ได้
Funnel คือการที่ตั้งค่าแบบมีเงื่อนไขเช่นกัน เพื่อให้รู้ว่าผู้ใช้งานต้องผ่านหน้าไหนมาก่อน เช่น หน้าสินค้า > เลือกสินค้าเข้า Cart > หน้า Checkout > หน้าชำระเงิน > หน้าชำระเงินสำเร็จ > หน้า Summary สินค้าที่ต้องส่ง ถ้านับจะมีถึง 6 ขั้นตอนเลยทีเดียว เมื่อเราตั้งค่า Funnel เหล่านี้ไว้ จะทำให้รู้ได้ว่า มีคนที่ออกจากหน้าชำระเงินกี่คน มาถึงหน้าชำระเงินสำเร็จกี่คน นั่นถ้ามันน้อยมาก หมายถึงวิธีชำระเงินเราไม่เพียงพอหรือไม่ หรือหน้าเว็บไซต์/แอพพลิเคชัน ของเราไม่ตอบโจทย์ลูกกค้าเพียงพอ ทำให้เรามองภาพได้กว้างขึ้น และรู้ถึงปัญหาที่ผู้ใช้งานรั่วไหลออกไปนั่นเอง
ข้อที่ควรระวังสำหรับการวัด Conversion แบบ Destination
- ต้องมีหน้าสำหรับวัด Conversion โดยเฉพาะ
จริง ๆ ดูเป็นเรื่องไม่ยาก ใคร ๆ ก็บอกเพียงแค่ว่าสร้างหน้าเว็บขึ้นมาอีกหน้าหนึ่งจะยากสักแค่ไหนกันเชียว แน่นอนว่าเป็นเรื่องง่ายมาก สำหรับทีมงานที่มี Web Developer เป็นของตัวเอง หรือทำงานที่เป็น In-house Company แต่จะกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมาทันทีเมื่อเราเป็นเอเจนซี เพราะบางทีแบรนด์ดัง ๆ แค่การจะทำอะไรกับเว็บไซต์ก็มีขั้นตอนยุ่งยากมากมาย โดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ ๆ ส่วนแบรนด์เล็กที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง มักจะไม่มีทีม Web Developer เอเจนซีเลยเป็นที่พึ่ง แต่แน่นอนว่าย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
วัด Conversion แบบ Button Click

การวัด Conversion ในรูปแบบ Button Click ก็เรียกว่าเป็นการทำ Event รูปแบบหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะพบปุ่ม Call to action อยู่มากมายในเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นปุ่มลงทะเบียน ปุ่มดาวน์โหลด ปุ่มสำหรับโทร ปุ่มสำหรับอีเมล ทำให้เราใช้ประโยชน์จากการที่มีคนวัด Conversion เหล่านี้จากการที่มีคนกดปุ่มนั่นเอง
ข้อดีของการวัด Conversion แบบ Destination
- วัด Conversion บางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องสร้างหน้าใหม่
เช่นในเว็บไซต์หลายเว็บไซต์นิยมใส่เบอร์โทรศัพท์ไว้ เมื่อเราคลิกที่เบอร์โทรนั้น ประกอบกับเราใช้สมาร์ทโฟนอยู่ ก็สามารถโทรได้ทันที ซึ่งปกติแล้วไม่จำเป็นต้องสร้างหน้าใหม่เพื่อวัด Conversion แต่อย่างใด ทำให้การวัด Conversion แบบ Button Click เหมาะกว่ามากนั่นเอง
ข้อที่ควรระวังสำหรับการวัด Conversion แบบ Button Click
- ต้องมีความรู้ Technical บ้าง จึงจะสามารถติดตั้งแบบ Button Click ได้
เอาเข้าจริง การติดตั้งเพื่อให้นับ Conversion ในระดับ Button Click ได้ นับว่ายุ่งยากกว่าการนับแบบ Destination พอสมควร จำเป็นต้องมีความรู้เรื่อง Coding เล็กน้อย และการตั้งค่าผ่าน Google Tag Manager ให้ทำงานร่วมกับ Google Analytics ส่วนการนับผ่าน Facebook Pixel ก็ทำได้เช่นกัน แต่จำเป็นที่จะต้องทำผ่าน Event ไม่เหมือนกับการทำแบบ Destination ที่เราสามารถสร้าง Custom Conversion ได้เองเพียงแค่ใส่ Url ลงไป
- ไม่แม่นยำนัก เมื่อเทียบกับแบบ Destination
ลองคิดดูว่าคนเรามีโอกาส Error จากการกดปุ่ม Button Click แค่ไหน เช่นการกดโดยไม่ตั้งใจ กดปุ่มโทรแล้วกดวางทันที กดปุ่ม Submit Form แล้วแต่กรอกข้อมูลไม่ครบทำให้ส่งข้อมูลไม่ได้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอ นั่นหมายถึงทำให้การนับ Conversion คลาดเคลื่อนกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบกับแบบ Destination นั่นเอง
เขียนกันมาเสียยาวทีเดียวสำหรับบทความนี้ หวังว่าผู้อ่านคงจะเลือกได้ถูกว่าจะเริ่มวัด Conversion แบบไหนดี เอาเข้าจริงแล้วทั้งสองแบบ ต่างกันที่วิธีการ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราด้วยว่าจะให้การวัด Conversion ขึ้นอยู่กับอะไร
ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับ Digital Marketing หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ สามารถ Inbox สอบถามได้ที่ Facebook ของ Digital Break Time คำถามเด็ด ๆ ที่คิดว่ามีประโยชน์จะนำมาเขียนบอกเล่าให้กับคนอื่น ๆ ได้รู้ด้วย
ติดตามข่าวสาร บทความดี ๆ จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, Twitter, Line Official Account, Instagram
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time