ตั้งชื่อ Campaign แคมเปญ ในการทำ Digital Marketing ใครที่ใช้งานเครื่องมือทำการตลาดดิจิทัลเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น Meta Ads (Facebook Ads), Google Ads หรือการทำโฆษณาออนไลน์โดยใช้เครื่องมืออื่น ๆ ก็ตาม มักจะประสบปัญหาว่าการตั้งชื่อ Campaign จะตั้งอย่างไรดี
หลายคนอาจสงสัยว่าการ ตั้งชื่อ Campaign แคมเปญ ในเครื่องมือ Digital Marketing เหล่านี้จำเป็นที่จะต้องคิดและวางแผนการตั้งชื่อด้วยหรือ คำตอบคือใช่ ไม่ว่าคุณจะทำงานคนเดียวหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่านชื่อแคมเปญออกเลยเพียงแค่กวาดสายตามอง ทำให้รู้ได้ทันทีว่าแคมเปญนี้คือแคมเปญอะไร โฆษณาแบบไหน เป็นของเดือนอะไร เพราะการทำ Digital Marketing เราไม่ได้ทำแค่แคมเปญเดียวแน่ ๆ อีกทั้งยังให้ง่ายต่อการทำ Report ด้วย
ทาง Digital Break Time เลยจะมาแนะนำวิธีการตั้งชื่อแคมเปญจากที่ใช้จริง ซึ่งคนที่ได้อ่านคอมเทนต์นี้สามารถนำไปปรับใช้กับการตั้งชื่อที่ตัวเองใช้อยู่ได้ เพราะการตั้งชื่อแคมเปญไม่มีแบบไหนที่ดีที่สุด มีแต่ที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละคนเท่านั้น
ตั้งชื่อ Campaign แคมเปญในการทำ Digital Marketing อย่างไรให้อ่านง่าย
ใส่ Objective หรือรูปแบบการทำโฆษณา

การทำโฆษณาไม่ว่าจะเป็นบนแพลตฟอร์มโฆษณาไหนก็ตาม มักจะมี Objective คือวัตถุประสงค์ของการทำโฆษณาว่าต้องการมุ่งเน้นอะไรเป็นหลัก เช่น Lead คือการให้คนมาลงทะเบียน หรือ Traffic ที่ต้องการให้คนกดคลิกลิงก์ หรือจะเป็น Engagement ที่ต้องการยอดไลค์คอมเมนต์แชร์ให้สูงขึ้น ซึ่งในแบบนี้จะเห็นได้บ่อยในส่วนของ Facebook Ads
แต่ถ้าเป็น Google Ads นั้น การระบุ Objective ก็สามารถใช้ได้ แต่ส่วนตัวมักจะ ตั้งชื่อ Campaign แคมเปญ ตามประเภทของการโฆษณามากกว่า เช่น Search, GDN, PMax (Performance Max) ฯลฯ เพื่อให้รู้ได้ทันทีว่าแคมเปญนี้หมายถึงอะไร
ตั้งชื่อ Campaign แคมเปญ โดยระบุ Platform ในการทำโฆษณา
Platform ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแพลตฟอร์มที่ใช้งานอยู่ แต่หมายถึงแพลตฟอร์มของ eCommerce ต้องยอมรับว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในไทย มีอยู่ 2 เจ้าหลัก ๆ คือ Shopee กับ Lazada ซึ่งโดยเฉพาะการทำ CPAS บน Facebook มักจะจำเป็นที่จะต้องแยก Ad Account ออกจากกันด้วย ซึ่งการโปรโมตก็มักจะแยก Lazada และ Shopee ออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้จะดีกว่ามาก เพราะจะลดความสับสนตอนอ่าน Report ด้วย
ระบุชื่อสินค้าและบริการ หรือชื่อ SKU
แน่นอนว่าบางสินค้าและบางบริการ ถึงแม้จะอยู่ในธุรกิจเดียวกัน ก็มักจะมีกลุ่มเป้าหมายไม่เหมือนกัน รวมไปถึงรูปแบบ Ads ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการใส่ชื่อสินค้า ชื่อบริการ ทำให้แยกแคมเปญออกจากกันได้โดยทันที ยกตัวอย่างจากการที่ใช้งานจริง จากตัวอย่างของคลินิกทำฟัน เช่นการจัดฟัน Braces ใส่ลงไปกับแคมเปญนึง และรากฟันเทียม Implants ก็แยกใส่ไปในอีกแคมเปญนึง เพราะแค่กลุ่มเป้าหมายก็แตกต่างกันมากแล้ว ยังไม่ต้องพูดถึงรูปแบบ Ads ก็ต้องต่างกันด้วย
ตั้งชื่อ Campaign แคมเปญ ระบุเวลาและวันที่

โดยปกติแล้วเรามักจะทำแคมเปญตามระยะเวลา 2 แบบด้วยกัน
- แบบ Always on เปิดไว้ตลอดเวลาหรือทั้งเดือน
- จำกัดระยะเวลา มักจะใช้ในโปรโมชั่น
ทั้งสองรูปแบบนี้ก็คล้ายคลึงกัน แต่อันที่เป็น Always On นั้น ส่วนตัวจะไม่ค่อยใช้ของเดิมแล้วขยายวันออกไป แต่มักจะสร้างแคมเปญใหม่ ทำให้การ ตั้งชื่อ Campaign แคมเปญ ระบุเวลา จะเป็นขึ้นต้นด้วยปีและตามด้วยเดือน เป็นตัวเลขทั้งหมด เช่น 202301 นี่จะหมายถึงแคมเปญที่เป็น Always On ที่ใช้งานในเดือนมกราคม ปี 2023 นั่นเอง เอาจริง ๆ ที่ตั้งเอาปีไว้ข้างหน้ามีเหตุผลนิดนึง เวลาทำ Report รายปี เปรียบเทียบข้ามปี เอาปีขึ้นก่อนก็จะจัดเรียงง่ายกว่าแบบเอาเดือนขึ้นก่อน
แต่แบบจำกัดระยะเวลา หรือโปรโมชั่น มักจะเจอใน eCommerce Platform ไม่ว่าจะเป็นช่วง D-Day, Mid Month และ Pay Day จะมีวันที่มีระบุไว้ว่าวันไหนถึงวันไหน อ่านปุ๊บรู้ปั๊บ จากประสบการณ์จะตั้งคล้ายกับด้านบน แต่แค่มีวันที่เพิ่มด้วยเช่น 20230125.20230202 (ดูแล้วเหมือนโค้ดอะไรสักอย่าง) ก็หมายความว่าโปรโมชั่นแคมเปญนี้ เริ่มรัน 25 มกราคม 2023 ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2023 และที่ใช้ “.” แทน “-” เพราะว่าส่วนตัวจะใช้ “-” เป็นการคั่นชื่อในแคมเปญเพื่อให้อ่านง่ายขึ้น
แถม การตั้งชื่อ Ad Set (Ad Group), และ Ad Name
ส่วนมากการตั้งชื่อ Ad Set (Ad Group) คือการใส่ชื่อกลุ่ม Targeting ไปเลยว่าหมายถึงเป้าหมายอะไร แบบกว้าง ๆ ก็ได้ แต่ส่วนตัวจะระบุ Mass, RMT หรือ Lookalike ไว้ด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้อ่านได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น Mass-Women Age 20-55 หรือ RMT-Who Visited Website 180 Days ก็จะทราบทันทีว่าเป็นกลุ่ม Mass ผู้หญิงอายุ 20-55 ปี และกลุ่ม Remarketing คนที่เคยเว็บไซต์ในระยะเวลา 180 วัน
ส่วนการตั้งชื่อ Ads เน้นเป็นรูปแบบ Ads และตามด้วยตัวเลขมากกว่า เพราะในบางครั้งเราสร้างโฆษณาหลายรูปแบบค่อนข้างมาก การใส่เป็นตัวเลขเลยคิดว่าเหมาะสมกว่า เช่น AW001-Carousel ก็จะหมายถึง AW001 ในรูปแบบ Carousel ที่แนะนำแบบนี้เพราะส่วนมากในรีพอร์ต ก็มักจะมีภาพโฆษณาอยู่แล้ว
สรุป ตั้งชื่อ Campaign แคมเปญในการทำ Digital Marketing สำคัญแค่ไหน
สำคัญมาก เพราะโดยปกติคุณไม่ได้ทำแค่แคมเปญเดียวอย่างแน่นอน ยิ่งทำหลากหลายช่องทางมากเท่าไร ความซับซ้อนของแคมเปญก็จะมากขึ้น จำนวนแคมเปญก็สูงขึ้นตาม อีกทั้งหลายคนมีตัวช่วยในการทำรีพอร์ตอย่าง Supermetrics ที่ช่วยดึงข้อมูลอัตโนมัติ และสามารถสร้างรีพอร์ตได้ แน่นอนว่าการตั้งชื่อแคมเปญสำคัญมาก เหมือนเป็นการสร้างกฎนั่นเอง เพราะถ้าอยากให้ระบบทำงานได้ออกมาตามที่ต้องการ
ยกตัวอย่างจากการตั้งชื่อแคมเปญจากข้อมูลด้านบนที่กล่าวมา
- 202301-Conversion-Braces
- 20230125.20230202-Lazada-CPAS-Hand Cream
จะเห็นได้เลยว่า เราสามารถอ่านได้ทันทีว่าแคมเปญนี้กำลังโฆษณาในรูปแบบไหน วันที่เท่าไร สินค้าหรือบริการอะไร ถ้าใครเป็นเอเจนซีหรือฟรีแลนซ์รับลูกค้าหลายรายก็สามารถใส่ชื่อลูกค้าเข้าไปได้ด้วย ขึ้นอยู่กับเรานำไปปรับใช้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการคิดอย่างมีระบบ คนที่อ่านรีพอร์ตก็ทราบทันทีด้วยนั้นเอง ลดความสับสนได้เป็นอย่างมากด้วย ถือว่ามีประโยชน์มากและเป็นเรื่องพื้นฐานที่หลายคนมองข้ามเลยทีเดียว
ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับ Digital Marketing หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ สามารถ Inbox สอบถามได้ที่ Facebook ของ Digital Break Time คำถามเด็ด ๆ ที่คิดว่ามีประโยชน์จะนำมาเขียนบอกเล่าให้กับคนอื่น ๆ ได้รู้ด้วย
ติดตามเรื่องราว Digital Marketing จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, Twitter, Line Official Account, Instagram, Spotify, YouTube, Apple Podcast
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time