โฆษณา Shopee Ads Lazada Ads ก่อนทำโฆษณาควรต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง การทำโฆษณาทั้งช้อปปี้และลาซาด้า เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือยอดนิยมและทรงพลังของแพลตฟอร์ม eCommerce ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นเครื่องมือที่ได้ผลลัพธ์ดีและค่อนข้างเป็นที่น่าพึงพอใจมากในระดับหนึ่ง
ซึ่งต้องบอกว่าการทำ Shopee Ads และ Lazada Ads เป็นเครื่องมือปลายทางแล้ว ก่อนที่จะมาถึงโฆษณาจำเป็นมากที่จะต้องเตรียมหลายอย่างให้พร้อม เพราะว่าถ้าทุกอย่างไม่พร้อม แล้วจะมาหวังโฆษณาอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ และจะทำให้โฆษณาไม่เกิดประสิทธิภาพ และยังเป็นเหตุผลให้เกิดต้นทุนสูงกว่าที่คิดด้วย ดังนั้นการเตรียมตัวไว้ก่อนที่จะทำโฆษณา Shopee Ads, Lazada Ads ไว้จะดีกว่ามาก โดยมีวิธีดังนี้
โฆษณา Shopee Ads Lazada Ads ก่อนทำควรต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง
- หลังบ้านต้องพร้อม มีของ มี Stock พร้อมจัดส่ง อย่าปล่อยให้ของหมด
- ตั้งราคาขายให้ดี ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม ค่าการตลาด ตั้งราคาพลาด สู้ไม่ขายดีกว่า
- โฆษณา Shopee Ads Lazada Ads เงินน้อยทำได้ เน้นทำโฆษณาที่คุ้มค่า ไม่ต้องใช้เงินมาก
- ศึกษาเครื่องมือ โฆษณา Shopee Ads, Lazada Ads บ้าง ว่ามีการทำงานอย่างไร แบบไหนเหมาะกับเรา
หลังบ้านต้องพร้อม มีของ มี Stock พร้อมจัดส่ง อย่าปล่อยให้ของหมด

การทำ โฆษณา Shopee Ads และ Lazada Ads ไม่ว่าจะเป็นในฝั่งของ Search Ads, Discovery Ads หรือ Affiliate Ads นั้น จะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ต้องมีของพร้อมที่จะขาย มีพร้อมจัดส่ง เพราะระบบการทำงานของ โฆษณา Shopee Ads และ Lazada Ads จะทำงานเมื่อมีของพร้อมขาย นั่นหมายความว่าเมื่อสินค้าหมด หรือสินค้าไม่พร้อมขายในสถานะอะไรก็ตาม เช่น Delist ก็จะทำให้โฆษณาไม่ทำงาน เมื่อโฆษณาไม่ทำงานก็เท่ากับเสียโอกาสในการขายออกไป เพราะของหมด ผู้ซื้อก็จะไม่สามารถกด Add to Cart ได้ด้วยซ้ำ และกาค้นหาต่าง ๆ หรือในส่วนที่แนะนำสินค้า ก็จะไม่โชว์สินค้าที่หมดและไม่พร้อมขาย
ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าก็แฟร์ดีนะ ของหมดแต่โฆษณาไม่ทำงาน ก็เท่ากับไม่กินเงินเราไป แน่นอนว่ามองในมุมนั้นก็อาจจะใช่ แต่เราจะเสียโอกาสในการขายเป็นอย่างมาก เพราะช่วงโปรโมชั่นมีระยะเวลาจำกัด ไม่ว่าจะเป็นในช่วง Double Day, Mid Month, Pay Day ถึงจะมีทุกเดือน แต่ก็มีเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เราควรเตรียมของไว้ให้พร้อม และถ้าการที่ไม่ได้ใช้เงินโฆษณาในช่วงนั้นก็เท่ากับไม่มีผลลัพธ์ใด ๆ เกิดขึ้น ยอด Impression, Click, GMV ยอดขายลดลง ไม่ใช่เรื่องดีแน่ ๆ
และถ้าของชิ้นไหนขายดี แนะนำว่าสต๊อกของไว้ให้พร้อม เพราะบางทีเป็นเซลล์ใหญ่อย่าง Double Day อาจเจอของหมดกลางอากาศได้ แบบ ขายหมดช่วงตีหนึ่ง หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนมาได้ไม่นาน แล้วเวลาที่เหลืออีก 23 ชั่วโมงแทนที่จะขายได้อีก แต่กลับเสียโอกาสเพิ่มยอดขายไปอย่างน่าเสียดาย เอาเป็นว่าอันไหนขายดี เติมของเข้าไปเลยเยอะ ๆ ดีกว่า
ตั้งราคาขายให้ดี ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม ค่าการตลาด ตั้งราคาพลาด สู้ไม่ขายดีกว่า

อันนี้เป็นเรื่องที่หลายคนพลาดมาก ๆ คือการตั้งราคาขาย เพราะราคาไม่ได้แค่กำหนดแค่กลุ่มเป้าหมาย แต่ยังเป็นกำไรของเราอีกด้วย ซึ่งคนที่พลาดส่วนมากคือคนที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ซื้อมาขายไป (แต่ถ้าเป็นเจ้าของสินค้า เจ้าของแบรนด์ น้อยมากที่จะตั้งราคาสินค้าพลาด เพราะจะรู้ต้นทุนที่แท้จริง รู้ว่าค่าการตลาดเท่าไร ทำโปรได้แค่ไหน)
เนื่องจากคนที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ มักจะลืมว่ามีค่าการตลาด อย่างมากก็แค่เอาต้นทุนสินค้า บวกกับกำไรที่อยากได้ และบวกค่าแรงตัวเองอีกนิดหน่อย ก็ได้ราคาขายแล้ว แต่ในความเป็นจริงมีมากกว่านั้น เพราะการที่เราจะขายใน eCommerce Platform ได้ ต้องมีค่าส่วนแบ่งทางการตลาดหรือ GP เมื่อเราขายได้ หรือไหนจะค่าโฆษณาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นออฟไลน์หรือออนไลน์ ค่าจัดส่ง ส่วนมากมักจะลืมบวกค่าการตลาดเข้าไปด้วย ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เอากำไรมาแบ่งจ่ายทางด้านการตลาด ซึ่งเมื่อทำให้การตลาดไม่มียอดกลับมา (หลายครั้งก็เป็นเช่นนั้น) ก็ปิดใจไม่ทำการตลาดอีก
อันนี้บอกเลยว่าการตั้งราคาพลาดนี้ส่งผลต่อมุมมองของด้านงบการตลาดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วิธีคิดจะต่างกัน เช่น ถ้าเราไม่เคยเพิ่มต้นทุนทางด้านการตลาดเข้าไปในสินค้าเลย แต่เอากำไรมาทำการตลาดนั้น ก็มักจะมองว่าการตลาดคือค่าใช้จ่ายออกไป ที่ทำให้กำไรลดลง ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ เพราะจะได้ไม่ต้องเอากำไรไปจ่าย และจะต้องไม่ต้องเจข้าเนื้อด้วย
แต่ถ้าเราบวกค่าการตลาดเข้าไปในสินค้าแล้ว การมองจะกลับกันเลยว่า การตลาดจำเป็นต้องทำ จำเป็นต้องใช้เงินด้วยซ้ำ เพราะมีเงินส่วนนี้ให้แล้ว จะใช้ได้ไม่เกินกี่ % ของราคาสินค้า หรือจะแบ่งงบรายเดือนออกมาอย่างชัดเจน และวางแผนทำการตลาดให้ออกมามีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าไม่ใช้งบการตลาดเลยเท่ากับว่าสูญเปล่า ไม่ได้ต่อยอดอะไรเลย แต่ถ้าใช้งบทางด้านการตลาด บางอย่างอาจจะไม่แปรผันเป็นยอดขายโดยตรง อาจได้ในแง่ของพื้นที่สื่อ หรือชื่อเสียงกลับมาแทนก็ได้ (หลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ มีงบการตลาดมาให้ ถ้าไม่ทำการตลาดเลยนี่ถือว่าทีมการตลาดบกพร่องมาก ๆ)
แล้วถ้าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้อ่านถึงย่อหน้านี้แล้ว แล้วถ้าเราบวกราคาค่าการตลาดเข้าไปสูง จนราคาแพงกว่าคู่แข่งจะทำอย่างไรล่ะ ถ้าเป็นสินค้าเหมือนกัน ซื้อมาขายไปเหมือนกัน บอกเลยว่าเสียใจด้วยจริง ๆ ครับ เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ คนที่จะอยู่รอดได้จริง ๆ ในการขายบน eCommerce Platform ได้ คือเจ้าของแบรนด์ หรือตัวแทนจำหน่ายอย่างถูกต้อง เพราะได้ราคามาพิเศษ รวมไปถึง Retailer ต่าง ๆ เท่านั้น เพราะว่าการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต จะทำให้สินค้ามีราคาต้นทุนที่แท้จริงต่ำ สามารถเพิ่มต้นทุนค่าการตลาดเข้าไปได้ กำหนดราคาเองได้ ส่วนผู้ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายจริง ๆ กับ Retailer ก็ได้ผลประโยชน์จากเจ้าของแบรนด์ ที่ได้กำไรสูง ก็สามารถมีค่าการตลาดตรงนี้ได้เช่นกัน ต่างจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อำนาจการต่อรองน้อย จะขายราคาสินค้าแพงมากก็ไม่ได้ เพราะต้องแข่งกับเจ้าอื่นที่ไม่แตกต่างกัน
โฆษณา Shopee Ads Lazada Ads เงินน้อยทำได้ เน้นทำโฆษณาที่คุ้มค่า ไม่ต้องใช้เงินมาก

หลายคนเข้าใจผิดว่าต้องมีเงินหลักแสนถึงจะทำ Digital Marketing ได้ โดยเฉพาะใน โฆษณา Shopee Ads, Lazada Ads แต่ในความเป็นจริงแค่หลักพัน ก็สามารถใช้งานได้แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินมาก แนะนำว่าให้เลือกเฉพาะสินค้า SKU ที่ขายดี มีแนวโน้มได้กำไรสูง ขายได้ง่ายก่อน และเลือกเครื่องมือที่เน้นได้ผลลัพธ์ดีอย่าง Affiliate Ads เพราะว่าจำเป็นมากที่จะต้องขายสินค้าได้ก่อน ถึงจะจ่ายเงินค่า Ads เป็น % ของสินค้าที่ขายได้
หรือจะเลือก Search ก็ได้ เพราะจากปรสบการณ์ของตัวเองที่ทำมา Search บน Shopee Ads, Lazada Ads เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมาก ตอบโจทย์ผู้บริโภค เหมือนอ่านใจได้ เพียงแค่พิมพ์คีย์เวิร์ดสินค้าที่ต้องการ โฆษณาก็จะโชว์ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดสูง เท่านี้ก็สามารถเพิ่มยอดขาย เพิ่ม GMV และเพิ่ม ROAS ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีเงินสูงมาก
ศึกษาเครื่องมือ โฆษณา Shopee Ads, Lazada Ads บ้าง ว่ามีการทำงานอย่างไร แบบไหนเหมาะกับเรา
สุดท้ายเป็นเรื่องของการเลือกเครื่องมือในการทำการตลาด โฆษณา Shopee Ads, Lazada Ads ว่าเครื่องมือไหนเหมาะกับสินค้าของเรามาก จริงๆแล้วเครื่องมือของ Shopee Ads, Lazada Ads มีจำนวนค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น
- Search Ads
- Discovery Ads
- Display Ads
- Affiliate Ads
ซึ่งทั้ง 4 อย่างนี้ มีความคล้ายกับในทั้ง 2 Platform แต่ว่าบางอย่างก็มีพิเศษของแต่ละแพลตฟอร์มเท่านั้น เช่น New Product Launcher Ads ที่มีเฉพาะทางฝั่ง Lazada ส่วน Boost Ads ในตอนนี้มีเฉพาะทาง Shopee ซึ่งเราต้องมาศึกษาให้ดีว่าสินค้าเราเหมาะกับการทำโฆษณาตัวไหน และควรลงงบให้อันไหนมากกว่ากัน ถึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับ Digital Marketing หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ สามารถ Inbox สอบถามได้ที่ Facebook ของ Digital Break Time คำถามเด็ด ๆ ที่คิดว่ามีประโยชน์จะนำมาเขียนบอกเล่าให้กับคนอื่น ๆ ได้รู้ด้วย
ติดตามเรื่องราว Digital Marketing จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, Twitter, Line Official Account, Instagram, Spotify, YouTube, Apple Podcast
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time