Sponsored Max คืออะไร เรียกว่าเป็นโฆษณารูปแบบใหม่ของ Lazada Ads ที่นำมาต่อกรกับคู่แข่ง และเป็นตัวช่วยที่เพิ่มยอดขายได้มากขึ้นอีกด้วย เรียกว่าเป็นโฆษณาที่มีจุดเด่นในหลาย ๆ ที่ปรับปรุงมากขึ้นเลยทีเดียว
Sponsored Max คืออะไร โฆษณาแบบใหม่ของ Lazada Ads ดีจริงไหม
- มาทำความรู้จักกับ โฆษณา Sponsored Max คืออะไร ของ Lazada Ads กัน
- โฆษณา Sponsored Max ของ Lazada Ads สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกัน
- Sponsored Max คืออะไร วิธีเซ็ตอัพเบื้องต้น ของโฆษณา Sponsored Max
- จุดเด่น ของโฆษณา Sponsored Max
- จุดด้อย ของโฆษณา Sponsored Max
- โฆษณา Sponsored Max เมื่อเทียบกับ Sponsored Discovery แล้ว เป็นอย่างไร ควรใช้ดีไหม
- สรุป ถ้าโฆษณา Sponsored Max มาให้ใช้แล้ว ก็ลองใช้ดูก่อน ถ้าไม่ดีก็กลับไปใช้แบบเดิมได้
มาทำความรู้จักกับ โฆษณา Sponsored Max คืออะไร ของ Lazada Ads กัน
Sponsored Max คืออะไร Sponsored Max คือโฆษณา On-platform รูปแบบใหม่ ของ Lazada Ads ที่มาต่อยอดจากโฆษณาแบบ Sponsored Discovery ซึ่งโฆษณาแบบ Sponsored Max นั้น จะเน้นเรื่องของการที่เพิ่มประสิทธิภาพของโฆษณาสูงสุด โดยใช้ AI ของ Lazada มุ่งเน้นให้เกิดยอดขาย โดยที่เราไม่ต้องกำหนดคีย์เวิร์ด และไม่ต้องกำหนด Placement ที่โฆษณาจะไปลง เพียงแค่เราสามารถกำหนดเงินที่ใช้ต่อวัน รวมถึง Target ROAS / หรือ CPC เท่านั้น
แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่า โฆษณา Sponsored Max ของ Lazada Ads ตอนนี้อยู่ในขั้นของ Beta (มีนาคม 2568) จะมีบางร้านค้าเท่านั้น ที่เปิดให้ใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าทาง Digital Break Time ได้ลองใช้งานแล้ว บอกเลยว่าค่อนข้างโอเคไม่น้อย
โฆษณา Sponsored Max ของ Lazada Ads สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกัน

Sponsored Max คืออะไร โฆษณา Sponsored Max ของ Lazada แบ่งออกเป็นโฆษณา 2 ประเภท ได้แก่
1. โฆษณา Sponsored Max Store เน้นโฆษณาสินค้าทั้งร้าน
Sponsored Max คืออะไร เป็นลักษณะคล้ายกับ Auto Ads ของ Sponsored Discovery โดยโฆษณาสินค้าได้ทั้งร้าน ไปพร้อม ๆ กัน แน่นอนว่าเราสามารถเลือกสินค้าที่ไม่ต้องการให้โฆษณาด้วย Sponsored Max Store ออกไปได้ โดยระบบจะมีให้กำหนดการตั้งค่าดังนี้
- จำนวนเงินที่ต้องการใช้งานต่อวัน
- เปิด Smart Creative หรือไม่ก็ได้
- วันที่เริ่มแคมเปญและจบแคมเปญ
- การนำสินค้าไหนเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม
- การ Bidding มีให้เลือก 3 แบบ ด้วยกัน คือ Target ROAS / Max CPC / Auto Bidding
เพียงเท่านี้ก็พร้อมรัน แต่การ Bidding นั้น ระบบแนะนำให้เป็น Target ROAS ซึ่งจากส่วนตัวก็ใช้งาน Target ROAS เช่นกัน แอบบอกว่าผลลัพธ์ที่ได้ ค่อนข้างดีอยู่ไม่น้อย ดีกว่าแบบ Auto Ads ของ Sponsored Discovery ที่ใช้งานก่อนหน้า
2. โฆษณา Sponsored Max Product เน้นโฆษณาแต่ละสินค้า
ส่วนแบบที่ 2 นั่นการโฆษณา Sponsored Max Product ที่เน้นลงเงินแต่ละสินค้าไปเลยโดยตรง ถ้าจะให้นึกภาพก็คล้ายกับโฆษณา GMV Max ของทางฝั่ง Shopee นั่นเอง โดยเท่าที่สังเกต เราจะใส่เงินได้ไม่ต่ำกว่า 35 บาท ต่อวัน ต่อสินค้า ส่วนการ Bidding ก็จะเป็นแบบ Target ROAS (ในส่วนนี้ไม่มั่นใจว่าจะเป็นแบบมีให้เลือกไหม Target ROAS / Max CPC / Auto Bidding เนื่องจากมีให้เลือกแค่ Target ROAS อย่างเดียว อาจจะให้เลือกตามการใช้งานของ Sponsored Max Store ก็ได้) โดยเราสามารถเลือกตั้งค่าได้ดังนี้
- สินค้าที่ต้องการทำโฆษณา Sponsored Max Product
- Target ROAS ที่ต้องการ
- Budget งบประมาณต่อวัน (1 วันสามารถเปลี่ยนได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น)
- ระยะเวลาที่กำหนด
Sponsored Max คืออะไร วิธีเซ็ตอัพเบื้องต้น ของโฆษณา Sponsored Max
- ไปที่ Seller Center แล้วล็อกอินให้เรียบร้อย
- เมนูด้านซ้ายมือส่วน Sponsored Solution > On-platform Solution
- มองที่แท็บด้านบน เลือก Sponsored Max (เฉพาะร้านค้าที่ได้รับเลือกเท่านั้น เนื่องจากเป็นช่วง Beta)
- กดสร้างโฆษณาได้เลย ทั้งแบบ Sponsored Max Store และ Sponsored Max Product
ทั้งนี้เป็นวิธีการเซ็ตอัพเบื้องต้นเท่านั้น ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกับโฆษณาแบบ Sponsored Discovery อยู่พอสมควร ใครที่เคยใช้งาน Lazada Ads มาก่อนหน้านี้ ก็จะไม่ใช่เรื่องยาก
จุดเด่น ของโฆษณา Sponsored Max

- ได้ ROAS มากกว่า Sponsored Discovery เดิมจริง ถ้ากำหนด Target ROAS ได้เหมาะสม
จากที่ได้ทำมาราว ๆ 1 อาทิตย์ แล้ววัดผลดูในเบื้องต้น ภาพรวมสามารถทำโฆษณาโดยมี ROAS ที่สูงกว่าการทำโฆษณาแบบ Sponsored Discovery เดิม* (Disclaimer ไว้ก่อนว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น) ROAS ได้มากกว่าเดิม ราว 20% แต่ก็นั่นแหละว่า อาจจะเป็นเพราะช่วงเวลา การเลือกสินค้า หรือการกำหนด ROAS ก็ได้ ทั้งหมดนี้ไม่มีผิดมีถูกตายตัว อาจจะต้องลองดูว่าแต่ละร้านค้าดีขึ้นหรือไม่อย่างไร
- โฟกัสกับแต่ละสินค้าได้ ลงเงินกับแต่ละสินค้าได้มากขึ้น
จากที่เมื่อก่อนนั้น การสร้างสินค้าต้องเป็นแบบแคมเปญ แล้วเลือกสินค้ารวมเป็นกลุ่ม ถ้าจะโฟกัสการทำโฆษณาแต่ละชิ้นก็ต้องแยกแคมเปญต่างหาก แต่พอการมาถึงของ Sponsored Max Product นั้น จะช่วยให้เรากำหนดจำนวนเงินที่ลงไปง่ายขึ้น โดยใส่ Budget ต่อวันในแต่ละสินค้าได้เลย ทำให้แต่ละสินค้าใช้เงินตามที่เราต้องการได้มากขึ้น - ไม่ได้มีแค่การ Bidding แบบ Target ROAS เท่านั้น มีแบบ Max CPC และ Auto Bidding
สำหรับการทำโฆษณาแบบ Sponsored Max Store นั้น มีรูปแบบการ Bidding ถึง 3 แบบ ด้วยกัน คือ Target ROAS / Max CPC / Auto Bidding เราสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการได้ แต่ระบบ และส่วนตัวแนะนำเป็นการใช้งานแบบ Target ROAS ได้ เพื่อให้เราควบคุม ROAS ทีเราต้องการออกมาให้ตรงใจ แล้วเมื่อดูผลลัพธ์แล้วเป็นอย่างไรค่อยปรับ Target ROAS ตามความต้องการจะดีกว่า - เปิด Sponsored Max ทั้งแบบ Store และ Product ควบคู่กันได้
จัดไปทั้ง 2 แบบ โดยสามารถรันคู่กันได้ หรือจะรันแยกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าใครมีงบมากหน่อย แนะนำให้เปิดใช้งานควบคู่กัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด โดย Sponsored Max Store ไว้ขายสินค้าทั้งร้าน ทั้งเน้นและไม่เน้น ส่วน Sponsored Max Product ก็เน้นเฉพาะสินค้าที่ต้องการขาย โดยลงงบแยกต่างหากเลย
จุดด้อย ของโฆษณา Sponsored Max
- ยังปรับงบลงไม่ได้เหมือนเดิม ถ้าใช้เงินต่อวันเกินไปแล้ว
เป็นจุดที่น่าเบื่อของ Lazada Ads เหมือนเดิม ง่าย ๆ คือถ้าคุณใช้เงินไปแล้ว ที่ 1,000 บาท จาก Budget ที่ตั้งไว้ 1,000 บาท คุณจะไม่สามารถปรับ Budget ลงได้แบบทันที คุณจะต้องรอในวันต่อไป และแน่นอนว่าถ้าคุณตื่นมาตอนเช้า เงินอาจจะโดยใช้ไปแล้วที่ 500 บาท ก็ปรับลดลงเป็น 100 บาท ไม่ได้ เรียกได้ว่าเป็น Pain Point ของคนทำโฆษณา Lazada Ads เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการปรับ Budget นั่นคือเที่ยงคืน เห็นใจคนทำโฆษณากันหน่อย ต่างจาก Shopee Ads ที่เราสามารถปรับ Budget ได้ทันที ส่วนของ TikTok Ads นั้นก็จะมีระบบให้ปรับ Budget ล่วงหน้า 1 วัน ได้ด้วย - ปรับเงิน Sponsored Max Product มากกว่า 2 ครั้ง ต่อวัน ต่อสินค้า ไม่ได้
ยังไม่พอ ยังวนเวียนอยู่กับ Budget นั่นคือโฆษณา Sponsored Max Product ไม่สามารถปรับ Budget ต่อวัน ต่อสินค้า ได้เกิน 2 ครั้ง ซึ่งก็เรียกว่าค่อนข้างแปลก พูดง่าย ๆ คือถ้าเกินลิมิตไปแล้วไม่สามารถปรับเพิ่มหรือปรับลดลงไปได้เลย แน่นอนว่าสำหรับเรา ถ้าปรับเงินหรือลดไม่ได้ก็กดหยุดโฆษณาสินค้านั้น ๆ ชั่วคราวแล้วค่อยมาปรับงบในวันถัดไปก็ย่อมได้ - เนื่องจากยังเป็น Beta ในส่วนข้อมูลของหน้า Dashboard อาจจะยังไม่ Real time มากนัก
ส่วนนี้เจอกันตัวเลยว่า หน้า Dashboard ของโฆษณา Sponsored Max นั้น ยังไม่สมบูรณ์มากนัก บางทีมียอดขายสินค้ามาแล้ว แต่ก็ไม่ได้บอกว่าขายสินค้าอะไรได้ ถ้าจะให้แม่จริง ต้องดูที่แท็บของ Data Insight > Sponsored Max ที่ดูแล้วตรงกว่ามาก บอกละเอียดกว่าด้วย - เมื่อทำโฆษณาแบบ Sponsored Max Store แล้ว จะไม่สามารถทำโฆษณาแบบ Sponsored Discovery ได้ (ยกเว้นแคมเปญ Mega Sales Accelerator)
ใครที่ได้ลองทำโฆษณา Sponsored Max Store และรันไปบ้างแล้ว ก็จะเห็นว่าการทำโฆษณา Sponsored Discovery จะโดนล็อกไว้ไม่ให้เปิดใช้งาน ยกเว้นเพียงแค่แคมเปญแบบ Mega Sales Accelerator ที่ยังพอใช้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรค ของคนที่กำลังจะลอง Sponsored Max Store แล้วโฆษณาแบบ Sponsored Discovery ก็ยังทำงานได้ดีอยู่ แน่นอนว่าจำเป็นต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สำหรับส่วนตัวเอง ก็เรียกได้ว่าเพียงพอแล้ว สำหรับ Sponsored Max Store ไม่จำเป็นต้องทำ Sponsored Discovery ร่วมก็ได้
แต่ว่าถ้าใช้ Spornsored Max Product ก็ยังใช้ควบคู่กับ Sponsored Discovery ได้นะ อาจจะต้องลองวางแผนกันให้ดีว่าแบบไหนดีกว่ากัน - การใช้เงินในภาพรวม อาจมีการคลาดเคลื่อนได้ ถ้ามีการโปรโมทสินค้าเยอะ ๆ
เป็นเรื่องปกติมาก ๆ ของการทำโฆษณาที่มีหลายสินค้าเยอะ ๆ แล้วมีส่วนของ Daily Budget แต่ละสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการลืมปรับงบโฆษณาลง หรือจำนวนสินค้ามากเกินไป อาจทำให้เกิดการสับสนได้ หรือแม้กระทั่งการทำ Target ROAS ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เงินใช่ไม่หมดด้วยเช่นกัน
โฆษณา Sponsored Max เมื่อเทียบกับ Sponsored Discovery แล้ว เป็นอย่างไร ควรใช้ดีไหม

Sponsored Max คืออะไร เรามาสรุปกันดีกว่าว่า แล้วควรใช้งานโฆษณา Sponsored Max ดีไหมนะ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้
- โฆษณาจะกลายแบ่งเป็นตาม สินค้า หรือ SKUs มากขึ้น คล้ายกับทาง Shopee GMV Max
เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Shopee Ads – GMV Max เรียกว่าเหมือนกันในด้านของการแบ่งโฆษณาตามสินค้า เพื่อให้แต่ละสินค้าได้รับงบประมาณในระดับที่โฟกัสได้มากขึ้น ทั้งหมดนี้คาดว่านำมาเพื่อต่อกรกับ Shopee Ads และ TikTok Ads ที่เป็นโฆษณา GMV Max เหมือนกัน - ใครที่มีสินค้าเยอะ แน่นอนว่าการปรับ Budget จะงงมากขึ้นไปอีก ภาระงานเยอะขึ้น
แน่นอนว่าใครที่สินค้ามีไม่มาก ตัวโฟกัสมีไม่เยอะ ก็จะปรับงบประมาณได้ไม่ยาก ไม่ค่อยมีความซับซ้อนมากนัก แต่ถ้าใครมีสินค้าเยอะ ๆ ระดับหลัก 50+ ก็เรียกได้ว่าจะมีเหนื่อยอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละสินค้า แล้วก็ในส่วนของการ Optimize ที่เราต้องมาทำ Target ROAS ของแต่ละสินค้าเพิ่มเติม เหนื่อยขึ้นแน่นอน
สรุป ถ้าโฆษณา Sponsored Max มาให้ใช้แล้ว ก็ลองใช้ดูก่อน ถ้าไม่ดีก็กลับไปใช้แบบเดิมได้
Sponsored Max คืออะไร แน่นอนว่าการทำโฆษณานั้นขึ้นอยู่กับการวางกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมไปถึงงบประมาณ แนะนำว่าให้ลองใช้งาน Sponsored Max อย่างน้อยสัก 1 เดือน เพื่อเปรียบเทียบดูก่อน ว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร ROAS และ GMV นั่นเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยพยายามควบคุมตัวแปรต่าง ๆ เช่นจำนวน Budget โดยรวม แล้วนำไปเปรียบเทียบกับโฆษณาแบบ Sponsored Discovery ว่าดีขึ้นจริงหรือไม่ เนื่องจากการขายสินค้าแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วค่อยนำมาตัดสินใจอีกครั้งว่าจะทำต่อหรือไม่ก็ยังทัน
ติดตามเรื่องราว Digital Marketing จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, X, Line Official Account, Instagram, Spotify, YouTube, Apple Podcast
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time