โฆษณา Google Ads ไม่ผ่าน โดน Disapprove สำหรับการโฆษณาบน Google Ads เป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ ที่เราจะต้องปฏิบัติตามกฎของ Google Ads เพื่อให้โฆษณาของเราเป็นไปอย่างราบรื่น บรรลุเป้าหมายเพื่อให้ได้ Conversion ตามที่หวังเอาไว้ แต่ก็มีหลายครั้งที่เราอาจไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่รู้กฎบางอย่างที่ทำโฆษณาออกมาแล้ว โดนปฏิเสธ Reject หรือ Disapprove ได้
วิธีการแก้ไขก็มีตั้งแต่การขอยื่น Appeal โฆษณา หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบของคำโฆษณา ซึ่งใน Google Ads มีโฆษณาหลายอย่าง ในที่นี้จะพูดแบบรวม ๆ และในบทความนี้จะเป็นวิธีการแก้ไขการโดนปฏิเสธโฆษณา นอกเหนือจากการ Appeal (ปกติอันนี้หลาย ๆ คนก็ทำกันอยู่แล้ว) ซึ่งเป็นการรวบรวมจากประสบการณ์ของตัวเองเป็นหลัก ส่วนมากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคลินิก สุขภาพ และอีเวนต์ ว่าใช้วิธีแบบไหนถึงจะช่วยแก้ไขได้ ถึงแม้ว่าหลายอันจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ก็ยังไม่ดีกว่าทำอะไรเลย
โฆษณา Google Ads ไม่ผ่าน แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไรดี
รูปแบบโฆษณาของการใช้คำภาษาอังกฤษ มักจะโดนตรวจได้อย่างรวดเร็วมากกว่าภาษาไทย

ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือเรื่องแปลกใจแต่อย่างใด เนื่องจาก Google Ads นั้นมีต้นกำเนิดจากอเมริกา ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก การใช้คำภาษาอังกฤษเขียนเป็น Text Ads หรือเขียนคำประกอบในโฆษณา Google Ads จะตรวจสอบภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วมาก ถ้ายิ่งเป็นคำต้องห้าม เรียกว่าโฆษณาจะโดน Disapprove เร็วมาก ๆ ทำให้เกิด โฆษณา Google Ads ไม่ผ่าน แต่ถ้าเราใช้คำภาษาไทย แน่นอนว่า Google Ads ก็ตรวจสอบเหมือนกัน แต่ว่าความละเอียดไม่เท่าของภาษาอังกฤษ ที่จะทำให้การใช้ภาษาไทย
แต่ถ้าใครมีความจำเป็นที่จะต้องใช้คำภาษาอังกฤษในคำโฆษณา (เช่นเราต้องการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนต่างชาติในไทย หรือทำกลุ่มเป้าหมายในต่างประเทศ) ซึ่งส่วนตัวก็มีลูกค้าที่ต้องการ Target กลุ่มคนเหล่านี้อยู่ แนะนำว่าให้ลองอ่านดูดี ๆ ว่า Policy ที่เราโดนนั้นคืออะไร (Google Ads จะมีแจ้งไว้เสมอ ว่าที่เราโดนนั้น ขัดกับ Policy ใด ต่างจาก Facebook) เมื่ออ่านแล้ว ทำความเข้าใจ ให้หลีกเลี่ยงคำแปลก ๆ ที่คำที่จะมีแนวโน้มขัดกับ Policy ใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือคำย่อ ก็สามารถลองดัดแปลงได้ จากนั้นค่อยรอการ Review Ads อีกครั้ง
เปลี่ยน URL หน้า Landing Page เพื่อหลีกเลี่ยง Policy ที่ทำให้ โฆษณา Google Ads ไม่ผ่าน
สำหรับนักการตลาดออนไลน์หลายคน การใช้หน้า Landing Page เป็นหน้าที่ก่อให้เกิด Conversion ง่ายที่สุด ก็อาจจะเป็นหน้าสินค้าและหน้าบริการนั้น ๆ โดยตรง เช่นหน้า Product Detail หรือหน้า Service เพื่อให้ประสบการณ์ของผู้ที่เสพโฆษณาตรงที่สุด และเร็วที่สุด แต่ทว่าบนหน้า Landing Page ที่เป็นหน้า Service หรือ Product Detail นั้นมีคำต้องห้าม หรือมีคีย์เวิร์ดบางอย่างที่ไม่สามารถโฆษณาได้ (ส่วนตัวเองเจอบ่อยมาก ในบริการประเภทคลินิกความงาม หรือหารขายตั๋ว ซึ่งแบบหลังต้องยื่นเอกสารก่อน) เพราะว่า Google Ads นั้นจะเข้าไปอ่านหน้า Landing Page ว่าหน้านั้นเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาเราแค่ไหน มีคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ซึ่งถ้าหน้า Landing Page มีเนื้อหาที่ฝ่าฝืน Policy ของ Google Ads อยู่แล้วก็จะไม่สามารถโฆษณาได้
ซึ่งวิธีที่ดูว่าโฆษณาที่โดน Disapprove นั้นเกิดจากหน้า Landing Page จริงหรือไม่ ก็แค่ลองสร้างโฆษณาขึ้นมา 2 อัน อันแรกเป็นใช้หน้า Landing Page URL เดิม อันที่ 2 ค่อยเปลี่ยนเป็นอีก URL ที่ต่างจากเดิม ส่วนตำทุกอย่างใช้เหมือนเดิมหมด เท่านี้ก็เรียบร้อย ถ้าอันนึง Approve อีกอัน Disapprove ก็แสดงว่าเกิดจาก URL จริง ที่เป็นต้นเหตุให้เกิด โฆษณา Google Ads ไม่ผ่าน
ที่ให้เปลี่ยน URL ไม่ใช่ว่าเปลี่ยน Domain ใหม่แต่อย่างใด แค่เปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ LP เป็น URL ใหม่แต่เป็น Domain เดิมตัวอย่างเช่น aaa.com/service01 ลองเปลี่ยนเป็น aaa.com/home ซึ่งบอกเลยว่าหน้าที่ค่อนข้างปลอดภัยมากที่สุดนั่นคือหน้าแรกของเว็บไซต์หรือที่รู้จักกันว่าเป็นหน้า Home นั่นเอง เพราะว่าข้อมูลมีไม่เยอะมาก ทำให้โฆษณาผ่านได้ง่าย หรือถ้าต้องการ Landing Page ไปหน้า Contact ก็ทำได้เช่นกัน เพราะว่าหน้า Contact ข้อมูลมีบ้าง แต่ไม่ได้เยอะมาก จน Google Ads ห้ามไม่ให้โฆษณา
ใช้ Video ในการทำโฆษณา ทั้ง YouTube Ads และโฆษณาวิดีโอแบบอื่น ๆ

เราเข้าใจว่าโฆษณาแต่ละประเภทไม่สามารถทดแทนกันได้ แต่ละรูปแบบมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น Search, Video, GDN, Performance Max และโฆษณาอื่น ๆ แต่ว่าโฆษณาที่เป็นรูปแบบวิดีโอมักจะหลบเลี่ยงการตรวจจับได้ค่อนข้างดี (บอกก่อนว่านี่คือข้อคิดเห็นส่วนตัว ไม่ใช่ข้อเท็จจริงแต่ประการใด) แน่นอนว่าโฆษณาที่เป็น Search จะมีส่วนประกอบคือข้อความเป็นหลัก ทำให้ตรวจจับได้ง่ายมากด้วยการอ่านคำ โฆษณาที่เน้นเป็นรูปอย่าง GDN ก็สามารถอ่านตัวอักษรในรูปได้แล้ว ส่วนอันที่เป็นวิดีโอ แน่นอนว่าเราสามารถสื่อสารได้มากกว่าโฆษณารูปแบบอื่น เพราะวิดีโอที่ใช้นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ความยาวก็แตกต่างกันออกไป อีกทั้งตัวอักษรที่ต้องการให้ใส่ก็น้อยมาก ทำให้หลบเลี่ยงการตรวจจับได้ค่อนข้างดี ส่วนตัวเคยโดนแบบ GDN ที่ไม่สามารถลงโฆษณาได้ เลยเปลี่ยนมาเป็นแบบวิดีโอที่เป็น Slide Show ง่าย ๆ เอารูปที่ใช้ใน GDN มาเป็นวิดีโอ ก็สามารถลงโฆษณาได้เลย แต่ถ้าใครมีงบสร้างวิดีโอที่ดีกว่านี้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน
แต่ก็ต้องบอกไว้เลยว่า วิธีที่ว่ามานี้เป็นวิธีที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ไม่ใช่วิธีแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และแต่ละอย่างก็มีข้อเสียที่จะต้องยอมรับให้ได้ด้วย ถ้าต้องการให้โฆษณาได้อย่างราบรื่นแนะว่าทำตามกฎจะดีกว่า ถ้า Google Ads ขอเอกสารอะไร ถ้าสามารถให้ได้ก็ให้ ใช้คำที่เป็นไปตามกำหนดจะดีกว่า ขอให้ทุกท่านที่ทำโฆษณากับ Google Ads เป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่มีปัญหา
ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับ Digital Marketing หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ สามารถ Inbox สอบถามได้ที่ Facebook ของ Digital Break Time คำถามเด็ด ๆ ที่คิดว่ามีประโยชน์จะนำมาเขียนบอกเล่าให้กับคนอื่น ๆ ได้รู้ด้วย
ติดตามเรื่องราว Digital Marketing จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, Twitter, Line Official Account, Instagram, Spotify, YouTube, Apple Podcast
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time