Display Ads คืออะไร ใน Shopee Ads, Lazada Ads การทำโฆษณาแบบ Display Ads นั้นมีความแตกต่างจาก Search และ Discovery แบบทั่วไปค่อนข้างมาก ซึ่ง Display Ads นั้นเป็นการทำเน้นทางด้าน Awareness และจำเป็นที่จะต้องใช้แบนเนอร์ด้วย ซึ่งแตกต่างจาก Search และ Discovery ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Artwork เลย เพราะเป็นการใช้ตัวสินค้ามาทำโฆษณาโดยตรง
Display Ads คืออะไร ใน Shopee Ads, Lazada Ads
- ทำความเข้าใจกับ Display Ads คืออะไร ใน Shopee Ads, Lazada Ads
- การคิดเงินมีทั้ง 2 แบบคือ Cost per Day (CPD) และ Cost per 1,000 Impression (CPM)
- Display Ads คืออะไร ช่วยเรื่อง Awareness มากกว่า
- Metrics ในการวัดผล จะไม่มีระดับถึง Conversion และ GMV, Revenue
- จำเป็นต้องจองล่วงหน้าก่อนหลายวัน ขั้นตอนการแก้ไขยาก เพราะเป็นการใช้ระบบจอง
- สำหรับการจองเป็นแบบ CPD CPM จะไม่สามารถเลือกบางวันได้ ขึ้นอยู่กับระบบกำหนด
- สรุป Display Ads คืออะไร ใน Shopee Ads, Lazada Ads และเหมาะกับใคร
ทำความเข้าใจกับ Display Ads คืออะไร ใน Shopee Ads, Lazada Ads
Display คือการทำโฆษณารูปแบบหนึ่งใน Shopee Ads และ Lazada Ads โดยใช้แบนเนอร์ที่เราเตรียมไว้ แสดงโชว์ในหน้า Home ของแอป ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Shopee และ Lazada โดยเน้นในด้านของ Awareness เป็นหลัก เพื่อแสดงโชว์โปรโมชันที่เราต้องการ เพื่อให้คนเข้ามาที่ร้านหรือสินค้ามากขึ้น
ซึ่ง Display Ads ทั้งใน Shopee และ Lazada ในปัจจุบัน เราสามารถสร้างได้เอง แต่ทว่าจะมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปจากการทำ Search, Discovery ใน Shopee Ads และ Lazada Ads ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน และการแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเดิม
การคิดเงินมีทั้ง 2 แบบคือ Cost per Day (CPD) และ Cost per 1,000 Impression (CPM)
สำหรับโฆษณา Display Ads ทั้ง Lazada และ Shopee มีวิธีการคิดเงินที่แตกต่างกันอยู่สองแบบ นั่นคือ
- Cost per Day (CPD)
เป็นรูปแบบการคิดเงินต่อวัน ซึ่งการคิดเงินในรูปแบบนี้ จำเป็นที่จะต้องติดต่อกับ Shopee, Lazada ผ่านทาง Key Account Manager (KAM) เพื่อให้จองวันสำหรับการทำโฆษณาในแบบนี้ แต่ทาง Lazada ก็สามารถทำโฆษณาได้เองด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะเป็นวัน Double Day วันเลขเบิ้ล ที่จะทำโฆษณา Display Ads แบบ CPD เพราะวัน DDay นั้น มีหลายคนให้ความสนใจมาก ดังนั้นวันเหล่านี้ก็จะคิดเงินเป็น CPD นั่นเอง แต่ทว่า ราคา CPD ก็มีราคาที่สูงเช่นกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละวันที่มีความแตกต่างกันออกไป (*ต้องเช็ควันที่สามารถลงได้ของแต่ละแพลตฟอร์มอีกครั้ง) - Cost per 1,000 Impression (CPM)
โฆษณาแบบ CPM เป็นรูปแบบที่เราสามารถทำโฆษณาได้เอง (ถ้าในฝั่งทั้ง Shopee หรือ Lazada ไม่มีเมนูนี้ แนะนำให้ติดต่อ Key Account Manager คนที่ดูแล เพื่อให้เปิดฟังก์ชันนี้ได้) โดยเราสามารถกำหนดจำนวนเงินที่เราต้องการลงโฆษณา วันที่ต้องการลงโฆษณา (ที่สามารถเปิดให้ลงได้) เลือก Targeting บางส่วนได้ โดยระบบจะคำนวณมากให้เบื้องต้นว่าเราจะได้รับ Impression ประมาณเท่าไร และ CPM มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เราตัดสินใจว่าจะลงโฆษณาหรือไม่ ต่อมาก็จะเป็นการอัปโหลด Artwork ไว้สำหรับแสดงโฆษณาซึ่งเราต้องทำตามระบบของแพลตฟอร์ม เมื่อ Submit ผ่านเรียบร้อยก็จะมีการรีวิวว่าโฆษณาของเราผ่านหรือไม่ ถ้าผ่านโฆษณาก็จะพร้อมรันตามวันที่เลือกไว้
*เนื่องจากทั้ง Shopee และ Lazada จะมีเกณฑ์การลงโฆษณาแบบ CPD และ CPM ที่แตกต่างกัน เช่นจากการลงโฆษณา Display Ads สำหรับ Lazadaในเดือนมีนาคม 2567 สามารถลงโฆษณาได้แบบ CPD เท่านั้น ไม่สามารถลงโฆษณาแบบ CPM ได้ แต่ถ้าเป็นเดือนเมษายน 2567 Lazada จะลงโฆษณาแบบ CPM ได้ตั้งแต่วันที่ 25-30 เมษายน
แต่ถ้าเป็นทางฝั่ง Shopee โฆษณาแบบ CPM จะยืดหยุ่นกว่า เช่นในตัวอย่างช่วงเดือนเมษายน 2567 จะลงโฆษณา Display Ads ได้เกือบทั้งเดือน ยกเว้นวันที่ 4, 15, 25, 26, 27 เท่านั้นที่จะไม่สามารถลงโฆษณาได้
Display Ads คืออะไร ช่วยเรื่อง Awareness มากกว่า
สำหรับร้านค้าที่ต้องการให้ร้านเรา หรือสินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมไปถึงมีโปรโมชันดี ๆ ที่อยากให้คนในแอปทั้ง Shopee, Lazada รู้ว่าเราจัดโปรนี้อยู่ การทำ Display Ads ก็เรียกได้ว่าตอบโจทย์ค่อนข้างมาก
Metrics ในการวัดผล จะไม่มีระดับถึง Conversion และ GMV, Revenue
อย่างที่เรากล่าวไปในเบื้องต้นว่าการทำโฆษณา Display Ads ทั้ง Shopee, Lazada นั้นช่วยในเรื่องของ Awareness มากกว่า ซึ่งเลยทำให้ Metrics ต่าง ๆ จะไม่มีบอกในด้านของ Conversion เลย ทั้ง GMV, Revenue, Purchase ซึ่งเราควรจะโฟกัสในด้านของ Awareness เช่น Impression, CPM, Clicks แทน
Display Ads ในฝั่ง Lazada จะแสดงโชว์ Metrics ดังนี้ Impressions, Reach, Click PV, Click UV, CTR, uCTR, Spent, PDP Visits, A2C (Add-to-Cart), Wishlist และยังสามารถดู Report ในเรื่องของอายุ เพศ ความสนใจในสินค้าประเภทต่าง ๆ และครีเอทีฟได้ด้วย
ส่วนในฝั่ง Display Ads ของ Shopee นั้น จะสามารถดู Metrics ได้ดังนี้ CPM, Impressions, Clicks, CTR, Reach, Page Views, Unique Visitors, Expense ซึ่งจะไม่ค่อยละเอียดเท่าทางฝั่ง Lazada
จำเป็นต้องจองล่วงหน้าก่อนหลายวัน ขั้นตอนการแก้ไขยาก เพราะเป็นการใช้ระบบจอง
เนื่องจากว่า Display Ads เป็นระบบที่ใช้การจอง และการเปิด Sale Order ทำให้การแก้ไขบางอย่างหลังจากการจองจะแก้ไขได้ยาก โดยปกติแล้วสิ่งที่เราจะต้องคอนเฟิร์มจริง ๆ ก่อนที่จะทำ Display Ads แน่นอนนั่นคือเรื่องเงินที่เราต้องการจะทำ Display Ads ซึ่งเงินตรงนี้จะยังไม่รวม Vat และสิ่งที่ต้องคอนเฟิร์มอีกหนึ่งอย่างนั่นคือกำหนดวันที่ต้องการให้โฆษณารัน และสุดท้ายคือ Artwork ที่จำเป็นต้องผ่านการรีวิว ถ้ารีวิว Artwork ผ่านไปแล้ว บางแพลตฟอร์มถ้ายังไม่ถึงวันเวลาที่จะต้องรัน ก็อาจจะเปลี่ยน Artwork ได้ แต่ถ้าเปลี่ยน Artwork ต้องต้องรีวิวใหม่อีก แต่ถ้าถึงระยะเวลาที่ต้องรันโฆษณาแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้อีก ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงิน Artwork หรือแม้กระทั่งจะหยุดโฆษณา เพราะนั่นคือเป็นสิ่งที่เราต้องมันใจแล้วว่าทุกอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก
สำหรับการจองเป็นแบบ CPD CPM จะไม่สามารถเลือกบางวันได้ ขึ้นอยู่กับระบบกำหนด
การเลือกทำโฆษณา Display Ads ด้วยคิดเงินแบบ CPM แต่ทว่าจะมีข้อจำกัดบางอย่าง โดยเฉพาะการเลือกวัน ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นน้อยมาก โดยเฉพาะทางฝั่ง Lazada ที่จะเน้นเรื่องของ CPD มากกว่า ส่วน CPM ในบางเดือนจะไม่สามารถเลือกได้เลย หรือจะเลือกได้วันจำนวนน้อยเท่านั้น ส่วนทาง Shopee การทำโฆษณาแบบ CPM จะยืดหยุ่นกว่า มีวันให้เลือกมากกว่า
สรุป Display Ads คืออะไร ใน Shopee Ads, Lazada Ads และเหมาะกับใคร
สรุป Display Ads ใน Shopee, Lazada นั้นค่อนข้างเหมาะกับคนที่ต้องการทำ Awareness บอกโปรโมชันให้ลูกค้าที่อยู่ในแอปอีคอมเมิร์ซรู้ โดยหวังที่จะได้ยอดเข้าชมร้าน และยอดขายบางส่วนด้วย อีกทั้งยังเหมาะกับคนที่ต้องการมองหาโฆษณารูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจาก Shopee Ads, Lazada Ads โดยทั่วไป แต่ยังเน้นที่แพลตฟอร์มอีเมิร์ซอยู่ Display Ads ก็เรียกได้ว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก ซึ่งจากที่ส่วนตัวได้ใช้งานจริง ก็มียอดเข้าชมร้านค้าเป็นจำนวนมาก และยังเพิ่มยอดขายได้ด้วย (ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มี Metrics ในการวัด Conversion ยอดขายโดยตรงก็ตาม) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการทำโฆษณาที่น่าสนใจ แนะนำว่าถ้าใครยังไม่เคยได้ทำ อาจจะมาลองทำสักครั้งแล้ววัดผลว่าดีขึ้นมากแค่ไหน
ติดตามเรื่องราว Digital Marketing จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, X, Line Official Account, Instagram, Spotify, YouTube, Apple Podcast
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time