Digital Marketing ใช้คำศัพท์ ไม่รู้เรื่อง ไทยคำ อังกฤษคำ เป็นเรื่องปกติหรือไม่ สำหรับใครที่ได้อ่านบทความในเว็บไซต์ Digital Break Time หรือฟังพอดแคสต์กันบ่อย ๆ กับเรื่องของ Digital Marketing ก็มักจะได้รับฟังคำคัพท์พิลึก ๆ ที่อาจจะเข้าใจได้ยาก หรือตามไม่ทัน
แต่บอกไว้ก่อนว่า คนที่ทำงานเกี่ยวกับ Digital Marketing ใช่ว่าจะเก่งภาษาอังกฤษเสมอไป ที่ใช้คำทับศัพท์พวกนี้เพราะว่าชิน และโดนฝึกกันมาแบบนี้ ทำให้หลายคนที่อยู่นอกวงการ หรือเพิ่งจะมาเริ่มเข้าสู่ Digital Marketing จะงงและสับสนกันไปบ้าง ว่าพูดภาษาอะไรกัน ใช้ภาษาไทยล้วน ๆ ไม่ได้หรอ ซึ่งทาง Digital Break Time เข้าใจและเวลาที่คุยกับลูกค้าก็เจอมาบ่อย เลยจะมาแชร์ว่าทำไมเหล่าคนที่ทำ Digital Marketing ถึงได้พูดไทยคำ อังกฤษคำ
ทำไมชาว Digital Marketing ใช้คำศัพท์ ไม่รู้เรื่อง ไทยคำ อังกฤษคำ
ทับศัพท์มันง่ายกว่าแปลไทยจริง บางคำไม่มีแปลไทย แปลไทยแล้วงงกว่าเดิม
อันนี้ขอบอกเลยว่าจริง สำหรับบางคำศัพท์ที่แปลง่าย ๆ อย่าง Cost per Click (CPC) ก็สามารถแปลไทยได้ง่าย ๆ ว่าเป็นราคาต่อคลิก ซึ่งอันนี้ไม่แปลก แต่ถ้าพูดเป็น CPC ก็เหมือนเป็นการย่อเข้าไปอีก ทำให้พูดได้เร็วขึ้น แต่ถ้าเป็นพวกที่แปลไทยยาก ๆ อย่าง Conversion ที่ทับศัพท์ไปเลยว่า คอนเวอร์ชัน เนื่องจากให้แปลไทยยากมาก ๆ ที่จะจำกัดคำนิยาม ถ้าให้แปลไทยแบบเอาที่ผู้เขียนเข้าใจ คือการที่ผู้รับสารหรือผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับโฆษณากระทำการใดตามที่เรากำหนดเอาไว้ งงมั้ย แปลเป็นไทยแล้วก็ยังงงอยู่ดี เพราะคำจำกัดความขนาดของภาษาอังกฤษใน Digital Marketing ก็สามารถแปรผันได้หลายอย่าง เพราะค่าของ Conversion นั้นเราสามารถกำหนดได้เอง ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียน การสั่งซื้อ Add to Cart หรือจะเป็นอะไรก็ได้ ที่เราอยากจะให้เป็น การที่จะมาแปลเป็นไทยยังงงเลย แต่พอพูดว่า Conversion ก็ต้องถามอีกคือว่า Conversion นั้นคืออะไร เหล่านักการตลาดออนไลน์ถึงจะรู้กัน
Digital Marketing ใช้คำศัพท์ และคำทับศัพท์มากมาย ซึ่งหลายคนมักจะนิยมทับศัพท์เพื่อให้ง่ายต่อการพูด ไม่ให้เยิ่นเย้อ แต่หลายคนก็ลืมคิดไปว่าผู้ที่ต้องรับสารอาจจะไม่ได้อยู่วงการนี้และอาตสับสนได้ว่าศัพท์ที่พูดมามันคืออะไรกันแน่
คนในวงการ Digital Marketing ใช้คำศัพท์ ฟังแล้วเข้าใจตรงกัน รู้ทันที

สำหรับคำทับคัพท์ไหนที่ใช้กันบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น CPC, CPA, CPL, CV, ROAS, GMV หรือบางคำที่ยาวกว่านั้นจะโดนย่อไปหมด แต่ถึงจะโดนย่อ แต่ก็ใช้ว่าจะสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง ซึ่งคำย่อพวกนี้มักจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว เนื่องจากเครื่องมือการทำ Digital Marketing ต่าง ๆ ถึงแม้จะมีต้นกำเนิดจากหลายประเทศ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเครื่องมืออย่าง Meta Ads (Facebook Ads) และ Google Ads ต่างมีต้นกำเนิดจากสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย ทำให้เหล่านักการตลาดที่ใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ต่างก็เรียนรู้คำคัพท์ และเกิดการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มนักการตลาดออนไลน์ รวมไปถึงเครื่องมือต่าง ๆ ก็มักจะมีการวัดผลที่ใช้คำศัพท์เหล่านี้เป็นพื้นฐาน
เมื่อเหล่านักการตลาดคุยกัน หรือ สื่อสารกันด้วยคำย่อเหล่านี้ เหล่าคนที่ทำ Digital Marketing ก็มักจะเข้าไปได้โดยทันทีที่ไม่ต้องแปลเลย เพราะคนที่ทำงานในด้านนี้ มักจะต้องอยู่กับเครื่องมือ และคำศัพท์เหล่านี้อยู่ทุกวัน จนเกิดเป็นความเคยชิน และไม่รู้สึกขัดเขิน เมื่อต้องใช้คำย่อเหล่านี้ในการสื่อสารวงกว้างด้วย ซึ่งทำให้คนที่อยู่นอกวงการ Digital Marketing ต่างสงสัยว่า ใช้ภาษาอะไรสื่อการกันอยู่
ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมง่าย เพราะต้นแบบก็มาจากภาษาอังกฤษ
อันนี้จริงมาก ๆ เป็นผลลัพธ์ที่ต่อเนื่องมาจากข้อก่อนหน้า เมื่อเครื่องมือมาจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ก็จะทำให้มีบทความ ความรู้ คลิปวิดีโอ ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Marketing เป็นภาษาอังกฤษเป็นจำนวนมาก ทำให้การค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด หรือคำที่เราทับศัพท์กันนี่แหละ ออกมาง่าย หาอะไรก็เจอ เอาจริง ๆ ตั้งแต่ทำงานด้าน Digital Marketing มานาน How To ต่าง ๆ หาเจอได้ไม่ยาก มีเยอะด้วย เพียงแค่เราต้องใช้คีย์เวิร์ดหาให้เจอก็เท่านั้น
จึงอย่าแปลกใจที่ส่วนตัวเอง จะใช้หน้าจอ Interface ของเครื่องมือการตลาดออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้เราคุ้นเคยกับคำคัพท์เหล่านั้น ถึงบางอย่างเราจะไม่เข้าใจในทันทีทันใด แต่เมื่อได้เห็นเป็นประจำ ก็ทำให้เราชินและนำคำคัพท์นั้นไปค้นหาความหมายต่อได้ด้วย
ทั้งหมดนี้คงอาจจะเป็นคำตอบให้ได้ว่าทำไมเหล่านัก Digital Marketing ใช้คำศัพท์ โดยย่อและทับศัพท์กัน มากกว่าที่จะแปลเป็นภาษาไทย ใครที่สงสัยคำไหน แปลว่าอะไร ก็สามารถส่งคำถามมาได้ที่เพจ Digital Break Time กันได้
ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับ Digital Marketing หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ สามารถ Inbox สอบถามได้ที่ Facebook ของ Digital Break Time คำถามเด็ด ๆ ที่คิดว่ามีประโยชน์จะนำมาเขียนบอกเล่าให้กับคนอื่น ๆ ได้รู้ด้วย
ติดตามเรื่องราว Digital Marketing จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, Twitter, Line Official Account, Instagram, Spotify, YouTube, Apple Podcast
ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time